เชื่อว่าหลายท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ภาษา php” มาก่อนหน้านี้ หรือไม่บางท่านอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนหน้านี้เลยก็ว่าได้ เมื่อได้ยินจึงทำให้เกิดความสงสัยที่ว่า ภาษา php คืออะไร? และ ภาษา php ใช้ทำอะไรได้บ้าง? หากว่าเราจำเป็นจะต้องใช้งาน ต้องทำอย่างไร? มีวิธีการใช้งานในรูปแบบไหน? สำหรับในบทความนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

 

PHP คืออะไรกันแน่?

PHP นับได้ว่าเป็น ภาษาคอมพิวเตอร์โอเพนซอร์สฟรีในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก PHP Hypertext Preprocessor ผู้ที่ได้เริ่มต้นพัฒนา PHP ก็คือ มัส เลอร์ดอร์ฟ โดย PHP จะเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ Server – Side Script มีการประมวลผลที่ตัวเซิฟเวอร์เพื่อใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ อีกทั้งยังสามารถที่จะแสดงผลแบบควบคู่ไปกับ HTML ซึ่งในตอนนี้ PHP จะเป็นเวอร์ชั่น 7.4.8 นั่นเอง

ปกติแล้ว PHP มักจะใช้งานกับระบบปฏิบัติการที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Linux  Microsoft  macOS เป็นต้น และยังใช้งานกับเซิฟเวอร์ได้ด้วย ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะ PHP ยังมีส่วนที่จะทำหน้าที่ในการสนับสนุนฐานข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น PDO และ mysql ( ภาษา php มีข้อดีอย่างไร )

 

ภาษา php ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

PHP จะสามารถทำหน้าที่ในรูปแบบที่โปรแกรม CGI จะสามารถทำได้และอาจจะทำได้มากกว่า อย่างเช่น การเก็บรักษาข้อมูล การสร้างระบบเนื้อหาที่มาในรูปแบบไดนามิค เป็นต้น โดยปกติแล้วสคริปต์ PHP มักจะถูกนำมาใช้งานแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

  1. สคริปต์ PHP ที่ตัวเซิฟเวอร์ หรือ Server – side scripting

ถือได้ว่าเป็นลักษณะในการเขียนโค้ดตามรูปแบบการใช้งานแบบดั้งเดิม ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ PHP parser และ เว็บเซิฟเวอร์พร้อมทั้งเว็บบราวเซอร์ โดยโค้ดจะทำหน้าที่ประมวลผลไปที่เซิฟเวอร์และทำหน้าที่แสดงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอีกที

  1. สคริปต์ในรูปแบบคอมมานไลน์ หรือ Command line scripting

นับได้ว่าเป็นลักษณะในการเขียนโค้ดที่ไม่ต้องมีเซิฟเวอร์หรือแม้กระทั่งบราวเซอร์ก็ได้ แต่จะใช้แค่ PHP parser เท่านั้น

  1. ใช้เขียนแอพพลิเคชั่นในคอมพิวเตอร์ หรือ Writing desktop applications

ถือได้ว่าเหมาะสมสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในการใช้ PHP โดยตรง และเป็นบุคคลที่ต้องการจะใช้งานฟีเจอร์ PHP แบบขั้นสูงร่วมด้วย

ภาษา php ใช้ทําอะไรได้บ้าง

ก่อนจะเริ่มต้นใช้งาน PHP ต้องมีสิ่งใดก่อน

การเริ่มต้นใช้งานระบบ PHP ตัวเซิฟเวอร์ที่เป็นของเรานั้นจะต้องสามารถสนับสนุนและมีการเปิดให้ใช้งาน PHP ได้ ปกติแล้วเซิฟเวอร์มักจะสนับสนุน PHP อยู่แล้ว แต่ในส่วนของการบันทึกข้อมูลนั้น จะต้องทำการบันทึกไฟล์โดยใช้นามสกุล .php ซึ่งไฟล์ที่บันทึกจะต้องอยู่ภายในไดเร็คทอรี่หลักของเซิฟเวอร์เท่านั้น แต่สำหรับในกรณีที่คุณต้องการอยากจะให้ PHP เขียนและพัฒนาบนเครื่องของคุณเองได้ คุณจะต้องทำการติดตั้งตัวเว็บเซิฟเวอร์ร่วมด้วย เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้นั่นเอง

——————————————————————————————————

เพิ่มสมองให้เว็บไซต์ของคุณด้วยหลักสูตร  :

สอน PHP JAVASCRIPT และระบบฐานข้อมูล MYSQL

——————————————————————————————————