ไฮเปอร์ลูป ระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูง ถือเป็นการเปิดการเดินทางความเร็วสูงแห่งโลกอนาคต ตัวของแคปซูลมีความยาว 32 เมตร และมีน้ำหนักทั้งหมด 5 ตัน ตั้งแสดงเปิดตัวในสเปน ก่อนที่จะย้ายไปยังเมืองตูลูสประเทศฝรั่งเศส
เพื่อทำการประกอบชิ้นส่วนเพิ่มเติมก่อนที่จะเริ่มเปิดใช้ในการเดินรถเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก Hyperloop เป็นเทคโนโลยีที่ถูกจุดประกายโดย Elon Musk ที่เริ่มโครงการในปี 2013 เพราะ มัสก์ ไม่พอใจกับแผนการสร้างรถไฟความเร็วสูงของแคลิฟอร์เนีย พร้อมกระตุ้นให้หลายบริษัทเข้าร่วมแข่งขันสร้างระบบขนส่งความเร็วสูง ที่คาดว่าจะเคลื่อนย้ายผู้โดยสารด้วยแคปซูลด้วยความเร็วที่สูงกว่า 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ยืนยันว่าไฮเปอร์ลูปเป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก รวดเร็วระดับ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้พลังงานเพียง 15% ของรถไฟแมกเลฟที่ทันสมัยที่สุดของญี่ปุ่น ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แถมยังมีราคาถูกกว่า ทั้งในด้านการลงทุนราง และระบบปฏิบัติการ (ทั้ง capex และ opex) โดยใช้เงินเพียงครึ่งเดียวของรางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งการใช้งบประมาณน้อยกว่า เท่ากับระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าด้วย
การที่ยานพาหนะเคลื่อนที่ในอุโมงค์สูญญากาศด้วยแรงขับแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้ไม่มีแรงเสียดทานจากล้อกับรางและจากลม การใช้พลังงานจึงประหยัดที่สุด ลดการนำเข้าพลังงาน และสามารถทำให้ประเทศไทยใช้พลังงานน้อยลงในการขนส่งผู้โดยสารอีกด้วย
ที่สำคัญที่สุด ไฮเปอร์ลูปเป็นนวัตกรรมล้ำยุคก็จริง แต่ระบบทั้งหมดกลับเรียบง่ายจนสามารถผลิตที่ไหนก็ได้ในโลก นอกจากระบบขับเคลื่อนที่เป็นเทคโนโลยีของ Virgin Hyperloop One ระบบอื่นเช่น ราง ตัวรถ รวมถึงอุโมงค์สูญญากาศที่ใช้สำหรับควบคุมสภาพแวดล้อมของระบบรางรถไฟ สามารถผลิตได้ในไทย
เท่ากับว่าหากเราสร้างไฮเปอร์ลูปในไทยได้จริง นอกจากคนไทยจะได้ใช้ระบบขนส่งมวลชนที่เร็ว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สะดวกสบาย และราคาไม่แพง ยังสามารถก่อเกิดการจ้างงานและการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศขนานใหญ่ด้วย อนาคตใหม่ คืออนาคตที่เรากล้าฝันให้ใหญ่ ลงทุนอย่างมีวิสัยทัศน์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของคนไทย
คอร์สเรียนที่แนะนำ HTML CSS JAVASCRIPT
ความเห็นล่าสุด